เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 2. มหาสีหนาทสูตร

ความประพฤติเป็นผู้สงัด

บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ 4 นั้น พรหมจรรย์ในการประพฤติสงัดของเราดังนี้
คือ เรานั้นอาศัยชายป่าแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เมื่อใด เราได้พบคนเลี้ยงโค คนเลี้ยง
ปศุสัตว์ คนหาบหญ้า คนหาฟืน หรือคนทำงานในป่า1 เมื่อนั้น เราเดินหนีจาก
ป่าหนึ่งไปยังป่าอีกแห่งหนึ่ง จากป่าทึบแห่งหนึ่งไปยังป่าทึบอีกแห่งหนึ่ง จากที่ลุ่ม
แห่งหนึ่งไปยังที่ลุ่มอีกแห่งหนึ่ง จากที่ดอนแห่งหนึ่งไปยังที่ดอนอีกแห่งหนึ่ง ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะเราคิดว่า 'คนเหล่านั้นอย่าได้พบเรา และเราก็อย่าได้พบคน
เหล่านั้นเลย'
สัตว์ป่าเห็นพวกมนุษย์แล้วก็เตลิดหนีจากป่าแห่งหนึ่งไปยังป่าอีกแห่งหนึ่ง
จากป่าทึบแห่งหนึ่งไปยังป่าทึบอีกแห่งหนึ่ง จากที่ลุ่มแห่งหนึ่งไปยังที่ลุ่มอีกแห่งหนึ่ง
จากที่ดอนแห่งหนึ่งไปยังที่ดอนอีกแห่งหนึ่ง แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อใด
เราได้พบคนเลี้ยงโค คนเลี้ยงปศุสัตว์ คนหาบหญ้า คนหาฟืน หรือคนทำงานในป่า
เมื่อนั้น เราเดินหนี จากป่าแห่งหนึ่งไปยังป่าอีกแห่งหนึ่ง จากป่าทึบแห่งหนึ่งไป
ยังป่าทึบอีกแห่งหนึ่ง จากที่ลุ่มแห่งหนึ่งไปยังที่ลุ่มอีกแห่งหนึ่ง จากที่ดอนแห่งหนึ่ง
ไปยังที่ดอนอีกแห่งหนึ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราคิดว่า 'คนเหล่านั้นอย่าได้
พบเราเลย และเราก็อย่าได้พบคนเหล่านั้นเลย'
นี้เป็นพรหมจรรย์ในการประพฤติเป็นผู้สงัดของเรา
เรานั้นคลานเข้าไปในคอกที่ฝูงโคออกไปแล้ว ไม่มีคนเลี้ยงโคอยู่ กินมูลโคของ
ลูกโคตัวอ่อนที่ยังดื่มนม และกินปัสสาวะ อุจจาระของตนเองนั่นแลตลอดเวลา
ที่ปัสสาวะ และอุจจาระยังไม่สิ้นไป
นี้เป็นพรหมจรรย์ในโภชนมหาวิกัฏ2ของเรา
[157] เรานั้นเข้าอาศัยแนวป่าน่ากลัวแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ ที่ว่าน่ากลัวนั้น
เพราะเป็นแนวป่าที่น่าสะพรึงกลัว ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งยังมีราคะเข้าไปยังแนวป่านั้น

เชิงอรรถ :
1 คนทำงานในป่า หมายถึงคนหาฟืน, รากไม้ และผลไม้ในป่าเป็นต้น (ม.มู.อ. 1/156/368)
2 โภชนมหาวิกัฏ หมายถึงอาหารที่สกปรก, ไม่สะอาด คือผิดปกติอย่างมาก (ม.มู.อ. 1/156/368,
ม.มู.ฏีกา 2/156/44)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :160 }